ระบบผนังเย็น : ผนังสมาร์ทบอร์ดเอสซีจี และ ระแนงกันความร้อนเอสซีจี (ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าผนังก่ออิฐถึง 8 เท่า)
หลักการโดยทั่วไปของการเลือกใช้วัสดุเพื่อลดหรือป้องกันการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ทำได้ 2 วิธี คือ
1.ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติในการหน่วงความร้อน (Thermal Inertia ) ซึ่งยอมให้ความร้อนผ่านไปได้แต่จะหน่วงเวลาได้ระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหนาวัสดุ ยกตัวอย่างเช่น ผนังก่ออิฐมอญ 2 ชั้น ฉาบปูนจะสามารถหน่วงความร้อนได้นานกว่าผนังก่ออิฐมอญฉาบปูน
2.ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อนโดยไม่ยอมให้ความร้อนผ่านไปได้โดยง่ายการใช้วัสดุประเภทนี้ไม่จำเป็นสร้างผนังหนาแต่ต้องรู้จักว่าวัสดุตัวใดมีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อนที่ดี
ในสมัยก่อนอาจเป็นเรื่องยากลำบากในการหาวัสดุทางเลือกและมีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติการต้านทานความร้อนของวัสดุที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างผนังบ้านและอาคารในสมัยก่อนจึงมักเลือกใช้ผนังก่ออิฐฉาบปูนเป็นหลัก วึ่งแม้ผนังก่ออิฐฉาบปูนปกติ(หนา10ซม.)จะหน่วงความร้อนได้ดีแต่ไม่สามารถหน่วงความร้อนได้นานพอกับระดับความร้อนของบ้านเราในปัจจุบัน และส่งผลให้เกิดปัญหาความร้อนสะสมภายในห้องที่ไม่มีระบบระบายออกมายังภายนอกได้ง่ายเช่นกันแต่ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นแบะพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการก่อสร้างและมีคุณสมบัติในการต้านทานความร้อนให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น ระบบผนังเย็น
ระบบผนังเย็น คือระบบผนังที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุทางเลือกที่ทำให้สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่จะถ่ายเทเข้าสู่ตัวอาคาร ระบบผนังเย็นประกอบไปด้วยวัสดุที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนถึง 3 ชั้น (Triple Protection) โดยชั้นนอกสุดและชั้นในคือ แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ สมาร์ทบอร์ด เอสซีจี (หนา 8 มม. ขั้นไป) และชั้นกลางด้วยฉนวนกันความร้อน Cool Wall T65 เอสซีจี(หนา65 มม.)
โดยผนังสมาร์ทบอร์ดเอสซีจี ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์น้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแรงทนทาน ทนชื้น ทนปลวก ไม่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวลล้อม ซึ่งมีค่าการนำความร้อนต่ำกว่ากระเบืองแผ่นเรียบทั่วไปถึง 2 เท่าตัว ส่วนฉนวนกันความร้อน Cool Wall T65 ผลิตขึ้นจากฉนวนใยแก้ว Green-3 ที่มีคุณสมบัติไม่อบน้ำไม่ลามไฟเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวลล้อมหุ้มด้วยแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์เสริมแรงซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการต้านความร้อนได้สูงถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับผนังที่ไม่ได้มีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน(อ้างอิงจากคู่มือการอนุรักษ์พลังงานในอาคารกรมพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวลล้อม)
นอกเหนือจากการเลือกผนังที่มีประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนสูงแล้วเทคนิคที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารสูงสุดก็คือติดตั้งระแนงบังแดดหรือระแนงกันร้อนเอสซีจี ให้กับผนัง โดยเฉพาะผนังด้านทิศใต้และตะวันตกของอาคารเพื่อลดปริมาณแสงแดดไม่ให้ตกกระทบกับผนังโดยตรง ก็จะยิ่งช่วยให้ผนังดังกล่าวสามารถป้องกันความร้อนได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกทั้งยังช่วยให้บ้านดูมีมิติ มีลูกเล่นมากขึ้นอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น